การเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง
การเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง
![]() | ||||
---|---|---|---|---|
การเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง
ปลาหางนกยูง Petersชื่อสามัญว่า Guppy อยู่ในครอบครัว Poeciliidae เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้แถบประเทศเวเนซูเอลล่า หมู่เกาะคาริเบียน ของประเทศบาร์บาร์โดส และประเทศในแถบลุ่มแม่น้ำอเมซอน ในปัจจุบันนี้ปลาหางนกยูงได้รับความนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม สายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงเป็นปลามีการคัดพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์จากพันธุ์พื้นเมือง เพื่อให้ได้ปลาที่มีลักษณะดี สีสันสวยงาม (Fancy guppy) สายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมในการเลี้ยง เช่น สายพันธุ์ Mosaic หรือ Chili สายพันธุ์Tuxedo สายพันธุ์ Glass สายพันธุ์ Cobra หรือ Snake skin สายพันธุ์ Solid สายพันธุ์ Ribbon สายพันธุ์ Swallow และ สายพันธุ์ Albino เป็นต้น ปลาเพศผู้ในกลุ่มนี้ลักษณะครีบใหญ่ยาว และสีสันสะดุดตากว่าเพศเมียมาก
การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์
ปลาหางนกยูงมีวัยเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุเพียง 3 เดือน ดังนั้นเมื่อลูกปลาโตพอที่จะแยกเพศได้ (อายุ 1-1.5 เดือน ) ควรเลี้ยงแยกเพศไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาผสมพันธุ์กันเอง การเลี้ยงปลาหางนกยูงเพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์ควรเลี้ยงบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงในตอนช่วงเช้าหรือเย็น ถ้าเลี้ยงกลางแจ้งควรใช้ตาข่ายบังแสงส่องผ่าน 25-40% ภาชนะที่ใช้เลี้ยงใช้ได้ทั้งอ่างซีเมนต์หรือตู้กระจก ควรมีอุปกรณ์เพิ่มออกซิเจนในน้ำตลอดเวลา น้ำที่ใช้เลี้ยงควรเป็นน้ำที่สะอาดปราศจากคลอรีน มีความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ที่เหมาะสมประมาณ 6.8 ควรมีอุปกรณ์เพิ่มออกซิเจนในน้ำตลอดเวลา และมีอุณหภูมิน้ำ 25-29 องศาเซลเซียส
อาหารที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น ลูกน้ำ ไรแดง ไรสีน้ำตาล หรือหนอนแดง หรืออาจจะเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปที่มีปริมาณโปรตีนไม่ต่ำกว่า 40 % อาหารสดก่อนให้ทุกครั้ง ควรฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับอาหารโดยการแช่ในด่างทับทิมเข้มข้น 0.5-1.0 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ประมาณ 10-20 วินาที ปริมาณอาหารสดควรให้วันละ 10% ของน้ำหนักตัวหรือให้กินแต่พออิ่ม ส่วนอาหารแห้งให้วันละ 2-4 % ของน้ำหนักตัวปลา โดยให้วันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและเย็น การถ่ายเทน้ำควรทำทุกวัน โดยดูดน้ำในตู้ออกวันละประมาณ 1 ใน 4 ของปริมาณน้ำในตู้ แล้วเติมน้ำให้เท่าระดับเดิม
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
ควรเลือกปลาที่อายุ 3 เดือนขึ้นไป มีลักษณะลำตัวและครีบสมบูรณ์ รูปร่างได้สัดส่วน แข็งแรง ว่ายน้ำปราดเปรียว มีสีและลวดลายสวยงามตรงตามสายพันธุ์ เพศผู้จะมีลักษณะต่างจากเพศเมียตรงที่มีอวัยวะในการสืบพันธุ์เรียกว่า gonopodium ซึ่งดัดแปลงมาจากครีบก้น ปลาเพศผู้และเพศเมียควรมีลักษณะสีและลวดลายที่เหมือนกันหรือคล้ายกันมากที่สุด เพื่อให้ได้ลูกปลาที่ลักษณะไม่แปรปรวนมาก ในการผสมพันธุ์ หากจำเป็นต้องเก็บลูกปลาที่เพาะได้ไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในครั้งต่อไป ควรหาพ่อแม่ปลาจากแหล่งอื่นมาผสมบ้าง เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดจากการผสมเลือดชิด (inbreeding) ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้ลูกปลารุ่นต่อๆ ไป มีความอ่อนแอและมีอัตรารอดต่ำ เนื่องจากมีลักษณะด้อย (Recessive) ที่ปรากฏในยีน
การผสมพันธุ์
คัดเลือกปลาเพศผู้และเพศเมียตามลักษณะที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้วใส่เลี้ยงรวมกันในภาชนะที่เตรียมไว้สำหรับเพาะพันธุ์ ซึ่งจะเป็นอ่างซีเมนต์หรือตู้กระจกก็ได้ ในอัตราส่วนปลาเพศผู้ 2 ตัว ต่อปลาเพศเมีย 5 ตัว โดยปล่อยในอัตราส่วนเพศผู้ 10 ตัว ต่อ ปลาเพศเมีย 25ตัวต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร เมื่อปลาจะผสมพันธุ์กัน ปลาเพศผู้จะว่ายไปใกล้ปลาเพศเมีย และจะปล่อย
น้ำเชื้อผ่านทางอวัยวะช่วยในการสืบพันธุ์ไปเก็บไว้ในท่อนำไข่ของปลาเพศเมีย (น้ำเชื้อของปลาเพศผู้สามารถเก็บไว้ในท่อนำไข่ได้นานถึง 8 เดือน) จากนั้น ปลาเพศเมียจะใช้เวลาฟักในท้องนานประมาณ 22 - 30 วัน จึงจะฟักออกเป็นตัว เมื่อลูกปลาออกจากท้องแม่หมดควรนำลูกปลาออก เพื่อป้องกันไม่ให้แม่ปลากินลูกปลาที่เกิดมาใหม่ จำนวนลูกปลาแต่ละครอกอาจมีมากถึง 200 ตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของแม่ปลา แต่โดยเฉลี่ยจะมีประมาณ 40-50 ตัว ในการเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูงเพื่อการค้า อาจปล่อยพ่อแม่ปลาให้ผสมพันธุ์ในบ่อซีเมนต์ขนาดใหญ่ แล้วคอยตักลูกปลาออกทุก ๆ วัน หรืออาจจะปล่อยพ่อแม่ปลาผสมพันธุ์ในกระชัง หรือตระแกรงที่มีขนาดช่องตาที่ลูกปลาสามารถลอดออกมาได้โดยแขวนกระชังหรือตะแกรงดังกล่าวไว้ในบ่อซีเมนต์ เมื่อลูกปลาว่ายออกจากกระชัง สามารถแยกออกไปปล่อยในบ่ออนุบาลได้
การอนุบาลลูกปลา
ลูกปลาที่เกิดใหม่ในระยะแรกให้ไรแดงหรือไรสีน้ำตาลที่ฟักออกใหม่ๆ เป็นอาหาร โดยให้ในปริมาณที่ลูกปลากินอิ่มพอดี วันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้า - เย็น ประมาณ 2 สัปดาห์ จึงเปลี่ยนอาหารให้ลูกน้ำแทนหรืออาหารสำเร็จรูป ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำประมาณ ? ของตู้ทุกวัน และเมื่อลูกปลาอายุประมาณ 1 – 1 ? เดือน ควรจะเลี้ยงแยกเพศ เพื่อป้องกันไม่ให้ผสมพันธุ์กันเอง
|
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น